ระบบบริหารงาน สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด

รัฐพิธี “วันที่ระลึกวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร”

by สกจ.ตราด @10 มิ.ย. 64 09:49 ( IP : 182...241 ) | Tags : ข่าวประชาสัมพันธ์
  • photo  , 1000x667 pixel , 142,588 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 145,762 bytes.
  • photo  , 1000x884 pixel , 158,249 bytes.
  • photo  , 1000x1415 pixel , 354,957 bytes.

วันที่ 9 มิถุนายน 2564 นายสว่าง ชื่นอารมย์ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดตราด มอบหมายให้นางสาวภัทศา ปิณฑะศิริ หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดตราด เข้าร่วมงานรัฐพิธี “วันที่ระลึกวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร” ณ อาคารอเนกประสงค์องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด โรงเรียนตราษตระการคุณ ถนนเนินตาแมว ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมืองตราด โดยมีนายภิญโญ ประกอบผล ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นประธานในงานรัฐพิธี สำหรับการประกอบรัฐพิธี “วันที่ระลึกวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร” ในครั้งนี้ ประกอบด้วย พิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ การจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย และการกล่าวถวายราชสดุดีพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงสืบสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 8 แห่งมหาจักรีวงศ์ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ ทั้ง ด้านกิจการภายในประเทศ ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปในพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่  เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2489  นอกจากนี้ยังเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ และทรงเยี่ยมชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นครั้งแรก ณ สำเพ็ง พระนคร เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2489  ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีน นับเป็นการประสานรอยร้าวที่เกิดขึ้นให้หมดไป ด้านการศาสนา ทรงปฏิบัติตนเป็นพุทธมามกะ ท่ามกลางมณฑลสงฆ์ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2481 รวมทั้งด้านการศึกษา ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมสถานศึกษาหลายแห่ง ทรงเสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรก ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2489 โดยในการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งนั้น  มีพระราชปรารภให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน โรงเรียนแพทย์แห่งที่ 2 จึงได้ถือกำเนิดขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งในปัจจุบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Relate topics